energysaving

http://energysaving.siam2web.com/

(Root) 2008731-14-38242.jpg
 

พลังงานฟอสซิล

พลังงานฟอสซิลหมายถึง พลังงานของสารเชื้อเพลิงที่เกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมจมอยู่

ใต้พื้นพิภพเป็นเวลานานหลายพันล้านปี โดยอาศัยแรงอัดของเปลือกโลกและความร้อนใต้ผิวโลก มี

ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ตามลำดับ แหล่งพลังงานนี้

เป็นแหล่งพลังงนที่สำคัญในการผลิตกำลังไฟฟ้าในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยใช้ในการผลิต

กำลังไฟฟ้าประมาณ 70% ของแหล่งพลังงานทั้งหมด

ในการนำพลังงานฟอสซิลมาใช้เป็นวัตถุดิบ (Fuel) ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจะนำมาใช้ใน

3 รูปแบบ คือ ถ่านหิน (Coal) น้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum Oil) และก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

1. ถ่านหิน ถ่านหินเป็นแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยสารคาร์บอน

มากกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก และมากกว่าร้อยละ 70 โดยปริมาตร มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ ถ่าน

หินแบ่งออกตามค่าความร้อนที่ได้และร้อยละของจำนวนคาร์บอนเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีที่สุด ให้ค่าความร้อน

มากกว่า 25,600 กิโลจูลต่อกิโลกรัม โดยมีค่าคาร์บอนคงที่มากกว่าร้อยละ 86

2. บิทูมินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินที่ให้ค่าความร้อนมากกว่า 25,600 กิโลจูลต่อ

กิโลกรัม เช่นเดียวกับแอนทราไซต์ แต่มีคาร์บอนคงที่ต่ำกว่าร้อยละ 86

3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous) เป็นถ่านหินที่ให้ค่าความร้อนระหว่าง 19,300 ถึง

25,600 กิโลจูลต่อกิโลกรัม และเถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้แล้วต้องไม่จับตัวเป็นก้อน

4. ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำสุด ให้ค่าความร้อนระหว่าง 7,000

ถึง 19,300 กิโลจูลต่อกิโลกรัม

ถ่านหินที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่ ถ่านหินลิกไนต์ พบที่แม่เมาะ จ.ลำปาง และ

จ.กระบี่ จัดว่าเป็นลิกไนต์ที่คุณภาพแย่ที่สุด ในประเภทถ่านหินลิกไนต์พบว่าส่วนใหญ่มักมีเถ้าปนอยู่

มากแต่มีกำมะถันเพียงเล็กน้อย องค์ประกอบพอสรุปได้ว่ามีคาร์บอนคงที่อยู่ระหว่างร้อยละ 41 – 74

ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7 – 30 และเถ้าอยู่ระหว่างร้อยละ 2 – 45 โดยน้ำหนัก

(home) 2010124_56938.jpg

เหมืองแร่ถ่านหิน

2. น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบ มีสถานะเป็นของเหลวหนืดกึ่งของแข็ง

ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอน มีสีเหลืองอ่อน สีน้ำตาล สีน้ำตาลแก่ไปจนถึงสีดำ แบ่งออกเป็น 4

ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. แอสฟัลต์ เบส (Asphalt Base) มีพาราฟินหรือไขปนอยู่น้อย มีกำมะถัน ออกซิเจน

และไนโตรเจนปนอยู่ สูง เมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันแก๊สโซลีนคุณภาพดี แต่มีตะกอนแอสฟัลต์หรือ

ยางมะตอยปริมาณมาก

2. พาราฟินเบส (Paraffin Base) มีพาราฟินหรือไขปนอยู่มาก เมื่อนำมากลั่นจะได้

น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพดีและให้น้ำมันก๊าดคุณภาพดีด้วย ขณะเดียวกันก็มีแอสฟัลต์น้อยหรือไม่มี

3. มิกซ์เบส (Mix Base) เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมของทั้งแอสฟัลต์และไขพาราฟินปน

อยู่มากพอกัน เมื่อนำมากลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันทุกชนิด แต่ปริมาณจะน้อยกว่า 2 ประเภทแรก

4. แนพธา (Naphthenic Crude) คล้ายก๊าซธรรมชาติเหลว พบไม่มาก

ในการนำน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้งานจะต้องนำน้ำมันดิบมาผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลง

เพื่อจัดระเบียบโมเลกุล ของสารประกอบในน้ำมันดิบเสียใหม่ให้เหมาะสม ในการนำไปใช้ประโยชน์

กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งจะให้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมา ได้แก่

ก๊าซหุงต้ม( Liquefied Petroleum Gas) น้ำมันเบนซิน(Gasoline) น้ำมันก๊าด (Kerozene) น้ำมัน

เครื่องบิน น้ำมันดีเซล(Diesel) น้ำมันเตา (Fuel Oil) ไขมัน (Paraffin) และยางมะตอย (Asphalt)

3. ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับน้ำมัน

ปิโตรเลียมและเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเหมือนกัน มีสถานะเป็นก๊าซ ในการใช้งานก๊าซธรรมชาติจะ

ทำการแยกก๊าซธรรมชาติออกตามประโยชน์การใช้งาน ดังนี้

1. ก๊าซมีเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้แทนน้ำมันเตาและใช้

เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมีและเมทานอล

2. ก๊าซอีเทน ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีน

3. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และโปรเพน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มใน

ครัวเรือน และในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ซีเมนต์ ไฟฟ้า และใช้ใน

รถยนต์

4. ก๊าซธรรมชาติเหลว (Naturl Gasoline) ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเบนซิน

จากก๊าซธรรมชาติ

5. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

(home) 2010124_57086.jpg

แท่นขุดเจาะปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 139,267 Today: 5 PageView/Month: 89

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...